วันอาทิตย์ที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2565

ความกดอากาศสูง vs. Polar vortex คืออะไร ทำไมเราหนาวกันเดือนเมษายน

 

            โดยปกติแล้วสัปดาห์ต้นเดือนเมษยนที่คนไทยและอีกหลายประเทศที่อยู่ในแนวเส้น Latitude หรือคือในแนวซ้ายขวาของประเทศไทยเราจะได้พบกับฤดูร้อนที่เล่นงานให้บิลค่าไฟฟ้าของเราพุ่งเพราะระดมเปิดเครื่องปรับอากาศกัน แต่ปี 2565 นี้มีอะไรให้คนไทยตื่นเต้นกันเพราะเกิดฝนตกและอุณหภูมิลดลงจนอยู่ในเกณฑ์หนาว กรมอุตุนิยมวิทยาได้กำหนดเกณฑ์อากาศหนาวไปจนถึงอากาศเย็นไว้ดังนี้

  • อากาศเย็น (cool) อุณหภูมิตั้งแต่ 18.0 – 22.9 องศาเซลเซียส
  • อากาศค่อนข้างหนาว (moderately cold) อุณหภูมิตั้งแต่ 16.0 – 17.9 องศาเซลเซียส
  • อากาศหนาว (cold) อุณหภูมิตั้งแต่ 8.0 – 15.9 องศาเซลเซียส
  • อากาศหนาวจัด (very cold) อุณหภูมิตั้งแต่ 7.9 องศาเซลเซียสลงไป

ส่วนอากาศร้อนที่เราคุ้นเคยได้ถูกกรมอุตุนิยมวิทยากำหนดเกณฑ์ไว้ดังนี้ อากาศร้อน (hot) อุณหภูมิตั้งแต่ 35.0 – 39.9 องศาเซลเซียส และ อากาศร้อนจัด (very hot) อุณหภูมิตั้งแต่ 40.0 องศาเซลเซียสขึ้นไป

อากาศหนาวในประเทศไทยเราส่วนใหญ่จะอยู่ในช่วงเดือนธันวาคมไปจนถึงกุมภาพันธ์เพราะได้รับอิทธิพลความกดอากาศสูงจากประเทศจีน ความกดอากาศสูงหรือบริเวณความกดอากาศสูง (high pressure area) หรือแอนตี้ไซโคลน (Anticyclone) คือบริเวณที่มีความความกดอากาศสูงกว่าบริเวณใกล้เคียงที่อยู่รอบๆในแผนที่อากาศ เป็นบริเวณที่มีความกดอากาศสูงจากขอบนอกเข้าสู่ศูนย์กลาง บริเวณนี้จะมีกระแสลมพัดออกจากศูนย์กลางในทิศทางตามเข็มนาฬิกาในซีกโลกเหนือและในทิศทางทวนเข็มนาฬิกาในซีกโลกใต้ การเคลื่อนไหวของอากาศรอบศูนย์กลางบริเวณความกดอากาศสูงนี้เรียกว่า Anticyclonic Circulation 

ภาพประเทศไทยอยู่เหนือเส้นศูนย์สูตรที่แทนด้วยเส้นสีแดง
(ภาพจาก https://latitudelongitude.org/th/songkhla/)

ประเทศไทยอยู่สูงกว่าเส้นศูนย์สูตรขึ้นมาเล็กน้อยจึงได้รับอิทธิพลแบบซีกโลกเหนือ ทางตะวันออกของบริเวณความกดอากาศสูงจะมีอากาศเย็นที่ผิวพื้นและเป็นลมฝ่ายเหนือพัดผ่านเรียกบริเวณความกดอากาศสูงนี้ว่า cold high ส่วนทางด้านตะวันตกอากาศจะค่อนข้างร้อนและเป็นฝ่ายลมใต้พัดผ่านเรียกบริเวณความกดอากาศสูงนี้ว่า warm high บริเวณความกดอากาศสูงแผ่ลงมาเมื่อไหร่อากาศจะหนาวเย็น ความกดอากาศมีความสัมพันธ์กับอุณหภูมิในลักษณะสวนทางกันคือเมื่ออุณหภูมิสูงความกดอากาศจะต่ำ เมื่ออุณหภูมิต่ำความกดอากาศจะสูง

ภาพจาก http://tairgle.egat.co.th/

ประเด็นที่ฮือฮากันมากกับอากาศหนาวครั้งนี้ได้มีการกล่าวถึงปรากฏการณ์ Polar vertex ขึ้นมา องค์กร Greenpeace และ National Oceanic and Atompheric Administration ได้อธิบายว่าเป็นหนึ่งในปรากฏการณ์สภาพภูมิอากาศแปรปรวนที่เกี่ยวข้องโดยตรงและเป็นผลกระทบที่เกิดการที่อุณภูมิเฉลี่ยของโลกสูงขึ้น อุณหภูมิของน้ำในมหาสมุทรสูงขึ้น จนกระทั่งน้ำแข็งขั้วโลกละลายอย่างรวดเร็วและกระแสลมสนที่เรียกว่า Polar Vortex ไม่สมดุลได้พัดพาเอาอากาศเย็นจากน้ำแข็งที่ละลายไปยังภูมิภาคอื่นของโลกด้วย

ตามธรรมชาติแล้ว Polar vortex คือลมขั้วโลก เป็นกระแสลมที่มีความรุนแรงแต่ไม่ใช่พายุ มีทิศทางหมุนทวนเข็มนาฬิกาวนรอบเหรืออาร์กติกราว มีขนาดกว้างราว 50 กิโลเมตร มีบทบาทในการเก็บรักษาลมเย็นไว้ที่ภูมิภาคอาร์กติกและไม่ให้ความร้อนจากภายนอกเข้าไปในภูมิภาคนี้ ดังนั้นมันเปรียบเสมือนกำแพงลมที่กันอาณาเขตระหว่างอากาศเยือกแข็งของอาร์กติกกับอากาศอุ่นรอบ Latitude ไม่ให้ไปมาหากันได้ นักวิทยาศาสตร์ตั้งข้อสังเกตว่าภาวะโลกร้อนที่ทำให้น้ำแข็งขั้วโลกละลายมีความสัมพันธ์กับการเกิดปรากฏการณ์ Polar vortex ด้วยการไปรบกวนทำให้เสียสมดุลแล้วทำให้กำแพงลมนี้แยกตัวออกเป็นหลายๆสาย ทำให้ความเย็นของอาร์กติกหลุดลอดออกมากระจายไปสู่ภูมิภาคอื่นๆที่อยู่ใต้ลงมา นักวิทยาศาสตร์เหล่านี้ชี้ว่าปรากฏการณ์ Polar vortex เป็นการเตือนภัยธรรมชาติอันรุนแรงที่จะเกิดกับโลกของเราด้วยสาเหตุที่เกิดจากน้ำมือของมนุษย์ในการทำลายธรรมชาติทั้งทางตรงและทางอ้อม

ภาพจาก https://mgronline.com/greeninnovation/detail/9650000032227


กล่าวถึงอาร์กติกมาเยอะแล้วก็มาทำความรู้จักกันเพิ่มอีกสักนิดนึง คำว่าอาร์กติกมาจากภาษากรีกโบราณซึ่งมีความหมายหมีและยังอ้างอิงไปถึงกลุ่มดาวหมีใหญ่และหมีเล็กที่อยู่ใกล้กับดาวเหนือด้วย มันเป็นพื้นที่ในบริเวณขั้วโลกเหนือมีพื้นที่กว้างทั้งผืนดินและผืนน้ำมหาสมุทรที่ถูกปกคลุมไปด้วยน้ำแข็ง มีความหนาวเหน็บมากและสภาพธรรมชาติอันโหดร้ายแต่ก็ยังมีมนุษย์เข้าไปอาศัยอยู่ประกอบไปด้วยพื้นที่บางส่วนของประเทศต่างๆเช่นประเทศแคนาดา, กรีนแลนด์, ประเทศรัสเซีย, รัฐอลาสก้าประเทศสหรัฐอเมริกา, ประเทศไอซ์แลนด์, ประเทศนอร์เวย์, ประเทศสวีเดน, ประเทศฟินแลนด์, หมู่เกาะต่างๆที่อยู่ในมหาสมุทรอาร์กติก และมหาสมุทรอาร์กติก

สุดท้ายนี้เมื่อวันที่ 3 เมษายน 2565 กรมอุตุนิยมวิทยาได้ประกาศชี้แจงทางเพจเฟซบุ๊คถึงสาเหตุที่สภาพอากาศแปรปรวนว่าแท้จริงแล้วไม่ใช่ปรากฏการณ์ Polar vortex แต่เป็นผลมาจากอิทธิพลของความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังค่อนข้างแรงจากประเทศจีนแผ่ลงมาปกคลุมบริเวณประเทศไทยตอนบนในขณะที่ประเทศไทยอยู่ในช่วงฤดูร้อน

 

แหล่งอ้างอิง

http://tairgle.egat.co.th/index.php?option=com_content&view=article&id=18:temp-pressure&catid=8&Itemid=159&lang=th

https://www.tmd.go.th/info

https://www.bangkokbiznews.com/social/997219

https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B8%81%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%81

https://mgronline.com/onlinesection/detail/9650000032302

 

 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Sports physiotherapy management for tennis elbow and other treatment options.

Ultrasound therapy in tennis elbow treatment (Ref: https://nesintherapy.com/) Tennis elbow is degeneration of the tendons that attach to t...