วันศุกร์ที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2565

ราคาน้ำมันพุ่งขึ้นขนาดนี้ ไปขี่จักรยานดีมั้ย

"พรุ่งนี้น้ำมันขึ้นราคา" แง้มดูตัวเลขเบาๆก็เจ็บ 

        ชีวิตประจำวันของมนุษย์ในยุคที่ยังต้องใช้เชื้อเพลิงจากฟอสซิลในการขับเคลื่อนรถยนต์ทุกชนิดเป็นหลัก ไม่ว่าจะราคาลิตรละเท่าไหร่ก็ต้องกัดฟันเติม ไม่งั้นก็คงต้องหาทางเลือกใหม่เช่นรถไฟฟ้า EV ที่ดูเหมือนจะเป็นกระแสมาแรงที่ถือว่าอยู่ในกลุ่มผู้บริโภคกลุ่มเล็กๆที่มีกำลังทรัพย์มากพอพร้อมจ่ายกับความล้ำหน้ายอมรับนวัตกรรมนี้ พอก้มมองดูตัวเลขในบัญชีของเราก็คงต้องหาทางเลือกถัดไป ตอนนี้เท่าที่นึกออกก็จะเป็นการเดินและจักรยาน 

        ทางเลือกที่เหมือนจะประหยัดแรงได้ก็คือจักรยานซึ่งจักรยานสามารถแบ่งออกได้ 2 ชนิดตามแหล่งพลังงานได้แก่จักรยานไฟฟ้าใช้แรงจากแบตเตอรี่เหมาะกับผู้นิยมนั่งอย่างเดียวและจักรยานปั่นใช้แรงจากขาถีบเหมาะสำหรับผู้นิยมการออกแรงเอง 



  • รถจักรยานนำขึ้นรถไฟฟ้าได้มั้ย?

        การเดินทางด้วยจักรยานทั้ง 2 ประเภทไปได้ไกลกว่าหน้าปากซอยเพราะว่าตามข้อมูลของรถไฟฟ้าทั้งบนดินและใต้ดินได้อนุญาตให้นำรถจักรยานขึ้นรถไฟฟ้าได้ตามวันและเวลาที่กำหนด (ดูรายละเอียดเพิ่มเติมจาก https://www.bts.co.th/suggestion/suggestion-03.html) ยิ่งหากเป็นจักรยานที่พับให้มีขนาดเล็กลงได้ก็สามารถใส่รถ taxi หรือติดรถเพื่อนไปไหนต่อไหนได้อีก




  • ประเภทของรถจักรยานถีบ

        สำหรับสาย Physical อย่างเราก็ต้องพูดถึงจักรยานถีบที่สมัยนี้มีหน้าตาและชื่อเรียกที่หลากหลายจนจำกันแทบไม่หมดเลยทีเดียว โดยครั้งนี้จะนำไปทำความรู้จักจักรยานปั่นประเภทต่างๆตามการอ้างอิงจาก https://www.tokyobike.co.th/blog/how-to-pick-best-bicycle-type-for-you ซึ่งเขาบอกว่าจักรยานถีบมีถึง 14 ประเภทด้วยกัน ได้แก่

        (1) จักรยานเสือหมอบ (Road bikes)

        เป็นจักรยานที่ออกแบบมาให้ขี่ได้เร็วบนถนนผิวเรียบ ใช้ในการแข่งขันทางความเร็ว ยางหน้าแคบเพื่อลดแรงเสียดทาน ท่าขี่มีการก้มตัวมากทำให้ลดแรงต้านลมได้เยอะ จักรยานนี้ทำความเร็วได้มากกว่าอีกหลายประเภทแต่ไม่ชอบหลุมและถนนขรุขระ ถึงแม้จะไม่เหมาะกับการมีสัมภาระใดๆแต่ก็สามารถติดกระเป๋าใส่ของเล็กๆที่ตัวรถได้หรือจะสะพายเป้ขี่ก็ไม่แปลก

        สำหรับผมมีไว้ในครอบครองคันนึงครับ เอาไว้ใช้สำหรับซ้อมและแข่งไตรกีฬา มีเอาออกไปปั่นกับกลุ่มก๊วนนานน๊านนนนนนนครั้ง




        (2) จักรยาน Cyclocross bikes หรือ cross bike หรือ cx bikes

        ตามข้อมูลบอกว่าเป็นรุ่นย่อยของ road bike มีลักษณะ drop handlebar เหมือนกันแต่ออกแบบให้ลุยได้มากกว่าเพราะมีหน้ายากที่กว้างกว่า หนากว่า มีดอกยาง วัสดุทนต่อแรงกระแทกได้มาก สามารถใช้ได้กับหลายพื้นผิวเช่นผิวเรียบ พื้นปูนทราย กรวด และหญ้า แต่ก็ต้องยอมเสียความเร็วลงไป หากนำมาแข่งกับ road bike ในทางเรียบก็เอาชนะยากครับ





    (3) จักรยานทัวริ่ง (Touring bikes)

        เป็นอีกประเภทนึงของ road bike ที่ออกแบบสำหรับขี่เดินทางระยะไกล ติดตั้งอุปกรณ์ได้มากขึ้นเพื่อบรรทุกสัมภาระได้ มีความทนทานสูงและซ่อมเองได้ ท่าขี่จะก้มตัวน้อยกว่าเสือหมอบแต่ขึ้นเนินง่ายกว่า 



    (4) จักรยาน Advanture Road Bikes

        ถูกจัดเป็นจักรยานประเภทใหม่โดยออกแบบมาให้ใกล้เคียงกับ cyclocross เพื่อให้ลุยได้ทุกสภาพถนนแต่ออกแบบเฟรมให้ยาวขึ้นและท่าขี่ตัวตั้งขึ้นมากกว่า cx เล็กน้อยเพื่อให้มีความสบายสามารถขี่ได้ทั้งวันหรือเป็น light touring bike   ฟังดูเหมือนเป็นลุกผสมระหว่าง cx กับ touring นะครับเนี่ย




    (5) จักรยาน Triathlon/ Time Trial bikes หรือเรียกสั้นๆว่า TT

        TT เป็นจักรยานที่เน้นเรื่อง aerodynamic สามารถลดแรงต้านอากาศได้มากด้วยรูปแบบและท่าขี่ก้มไปข้างหน้ามากทำให้ทำความเร็วได้มาก เหมาะกับการขับขี่ทางเรียบและราบ ในการแข่งไตรกีฬาก็สามารถพบได้หลายคัน มันมีความหล่อ เท่ โฉบเฉี่ยว ดูล้ำสมัยแปลกตา ด้วยราคา 6 หลัก


    (6) Fitness bikes

        เป็นจักรยานที่เอาข้อดีของ road bike คือเฟรมเบา หน้ายางแคบ ขี่ได้เร็ว แต่แฮนด์ตรงและยกเล็กน้อย เป็นทางเลือกสำหรับคนชอบความเร็วแต่ไม่ชอบแฮนด์ดรอปแบบเสือหมอบ ใช้ขี่บนทางเรียบแต่ถ้าเปลี่ยนยางเป็นหน้ากว้างก็สามารถไปในเส้นทางขรุขระได้ เราอาจเรียกว่า flat - bar road bikes หรือ performance hybrid bike 


    (7) Fixed - Gear/Track bikes

        ใช้เพื่อแข่งความเร็วในสนามวงรี velodrome หรือถูกนำมาปั่นเดินทางเก๋ๆในเมืองเพราะว่าจะปั่นหรือจะเบรคจะต้องใช้วิธีการปั่นเท่านั้น ไม่มีเบรคมือ ด้วยการมีเฟืองอัตราทดเดียวและเป็นระบบที่ไม่สามารถปล่อยขาได้ ชุดบันไดจะหมุนไปเรื่อยๆตามล้อ หากจะเบรคก็ต้องฝืนขาทำให้ล้อหยุดหมุน


    (8) Mountain bikes

        เสือภูเขาผู้เกิดมาเพื่อทาง off-road มีหน้ายางกว้าง ดอกยางใหญ่เพื่อช่วยตะกุยผิวที่ขรุขระ รับแรงกระแทกด้วยโช้คหน้าและหลัง แต่บางรุ่นก็ไม่มีโช้ค ชอบพื้นผิวขรุขระ ทางชัน แต่ก็พอปั่นทางเรียบได้ ทำความเร็วช้า กินแรง ซึ่งตรงข้ามกับ road bike แบบคนละฝั่งเลย


    (9) Hybrid bikes

    จักรยานไฮบริดเจตนาจะเอาข้อดีของเสือหมอลและเสือภูเขามารวมกัน การออกแบบจะไม่ก้มตัวแบบเสือหมอบ เบาะกว้างเน้นสบายแต่ไม่สามารถทำความเร็วได้อย่างเสือหมอบ การลุยทางขรุขระก็ไม่ถึงกับ off - road แบบเสือภูเขา ด้วยไม่มีเอกลักษณ์ที่ชัดเจนในการขี่ จึงทำให้ศักยภาพการใช้งานออกมาครึ่งๆกลางๆ ที่แน่ๆน่าจะไม่เหมาะกับการนำไปแข่งความเร็วทางเรียบหรือไตรกีฬาแน่นอน


    (10) Dual - Sport bikes

       เป็นประเภทไฮบริดที่ปรับปรุงขึ้นมาให้มีการใชช้งานแนวสปอร์ตชัดเจนขึ้น เน้นการขี่ที่สปอร์ตลุยๆใกล้เสือภูเขามากกว่า ลุยได้มากกว่า และส่วนมากมีโช้คหน้า แต่ทำความเร็วทางเรียบได้ดีกว่าเสือภูเขาแท้ๆ


    (11) Cruiser bikes

    เน้นขี่สบายชมวิว หลังตรง เบาะกว้างเยื้องไปด้านหลัง ยางอ้วนใหญ่ซับแรงดี ใช้กับถนนเรียบเท่านั้น คนที่ไม่คุ้นกับระบบเบรค เกียร์ และรูปทรงจะรู้สึกขี่ยาก


    (12) City bikes

       ถูกเรียกจากรูปแบบการใช้งานในเมือง อาจเรียกว่า urban bikes หรือ commuter bikes ซึ่งผู้ออกแบบอยากให้ตอบโจทย์ lifestyle คนเมืองซึ่งสามารถติดตั้งอุปกรณ์เสริมเช่นตะแกรงและตะกร้าเพื่อใส่สัมภาระได้ตามสะดวก จักรยานประเภทนี้มีความทนทาน ขี่ง่าย ขี่สบาย ใส่ชุดทำงานขี่ก็ยังได้ ขี่ถนนในเมืองเป็นหลักบางครั้งลงหลุมบ้างก็ได้

         จากการค้นหาภาพสังเกตได้ว่าจักรยานคู่บ้านคู่เมืองเรามานาน ที่เรียกว่าจักรยานแม่บ้าน ก็ถือว่าเป็น city bike ด้วย จักรยานประเภทนี้หาซื้อง่าย ปัจจุบันนี้บางรุ่นบางยี่ห้อก็ใส่เกียร์เข้าไปนิดหน่อยพอที่จะทุ่นแรงในการขี่ได้บ้าง จากประสบการณ์ที่ผมเคยขี่แบบมาตราฐานไม่มีเกียร์ ถ้าขี่ทางราบก็สบายดีไม่เมื่อยคอและเมื่อยก้น ทำความเร็วได้ไม่มาก ถ้าปั่นเร็วมากมีความรู้สึกเหมือนโซ่จะหลุดและชุดปั่นฟรี ถ้าขึ้นเนินหรือขึ้นสะพานจะต้องออกแรงถีบมากๆ ความรู้สึกคือก้านปั่นมันงอและเหมือนเฟืองโซ่จะหัก

    (13) Folding bikes

        จักรยานพับได้ มีล้อขนาดเล็ก เพื่อสะดวกในการขนย้ายเช่นใส่รถยนต์ รถไฟฟ้า จุดอ่อนคือล้อเล็กทำให้ขี่ยากกว่าปกติ จุดพับสึกหรอง่าย ไม่คุ้มในการซ่อม 


    (14) Fatbike

        Fat - tire bike หรือล้อโต จักรยานยางใหญ่เติมลมน้อย ใช้งานพื้นผิว off - road แบบพื้นนิ่มเช่นทราย หิมะ โคลนหรือเลน ไม่เหมาะกับถนนแข็งเพราะกินแรงจากขนาดยางและอัตราทดเกียร์ 



       

 

  • การเลือกจักรยาน

        การเลือกจักรยานต้องเลือกตามวัตถุประสงค์ที่ต้องการใช้เช่นใช้ในการแข่งขันหรือใช้ในชีวิตประจำวัน และเลือกตามสภาพแวดล้อมเช่นถนนประเทศไทยหรือถนนประเทศเยอรมัน จากข้อมูลขั้นต้นหากเราต้องการใช้ในชีวิตประจำวันและปั่นไม่ไกลมาก ผมอยากแนะนำ city bike มากที่สุด รองลงมาคงเป็นจักรยานแม่บ้านแบบมีเกียร์ที่ถือว่าเป็น city bike แบบนึงเหมือนกัน รองลงมาน่าจะเป็นหน้าตาแบบเสือภูเขาและติดอุปกรณ์เสริมเข้าไป อีกประเภทที่น่าสนใจคือจักรยานพับได้น่ารักๆ


  • การบาดเจ็บจากการปั่นจักรยาน

        จากบทความวิจัยที่ตีพิมพ์สาธารณะหลายๆ ชิ้นชี้ให้เห็นว่าการบาดเจ็บจากการปั่นจักรยานมากที่สุดคืออุบัติเหตุรถชน ส่วนการบาดเจ็บแบบการกีฬาก็จะมีการปวดหลังส่วนล่างและเข่าด้านนอกซึ่งเกิดขึ้นไม่มากและไม่รุนแรง คำแนะนำเพิ่มเติมสำหรับปวดหลังส่วนล่างและเข่าด้านนอกควรมาพบนักกายภาพบำบัดเพื่อรักษาให้ดีก่อน หากฝืนขี่ไปจะมีแต่แย่ลง



  • เคล็ดลับการป้องกันการบาดเจ็บจากการปั่นจักรยาน

(1) ใส่อุปกรณ์ป้องกันเช่นหมวกกันน็อคและติดอุปกรณ์สะท้อนแสงหรือไฟเพื่อให้ยานพาหนะคันอื่นเห็นได้ชัดเจน


(2) ขี่ด้วยความระมัดระวัง หูไว ตาไว ไม่ใส่หูฟังที่ทำให้ไม่ได้ยินเสียงรถที่เข้ามาใกล้

(3) ขี่ในช่วงที่ยังมีแสงสว่าง จากประสบการณ์และคำแนะนำจากโค้ชควรปั่นช่วงรุ่งสางจะเหมาะกว่าช่วงหัวค่ำเพราะยิ่งปั่นยิ่งสว่าง 

(4) ออกกำลังกายเพิ่มความแข็งแรงกล้ามเนื้อก้นอย่างสม่ำเสมอ ท่าสามารถทำตามท่าในภาพนี้ได้ 3-5 วันต่อสัปดาห์ ท่าละ 10 ครั้งต่อเซต จำนวน 3 เซต



        หากอยากลงรายละเอียดสามารถพบนักกายภาพบำบัดใกล้ๆตัวท่านได้หรือ in box เข้ามาที่ facebook ของ Yim Physio Near Me ผมหวังว่าข้อมูลนี้จะพอทำให้ท่านตอบคำถามได้ว่าช่วงน้ำมันแพงจะไปปั่นจักรยานแทนดีมั้ยนะครับ



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Sports physiotherapy management for tennis elbow and other treatment options.

Ultrasound therapy in tennis elbow treatment (Ref: https://nesintherapy.com/) Tennis elbow is degeneration of the tendons that attach to t...