วันอังคารที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2565

การเตรียมตัวไปทำกายภาพบำบัด

            

จากประสบการณ์จะเห็นว่าการไปเข้าคลินิกหมอหรือร้านขายยานั้นลูกค้าจะมีความตั้งใจไปแต่การจะไปที่แห่งไหนก็แล้วการวางแผนการเดินทาง เราจะไม่เห็นลูกค้าในลักษณะเหมือนร้านขายเสื้อผ้าหรือเบเกอรี่ที่ผ่านตาแล้วอยากแวะเผื่อจะได้ติดไม้ติดมือมาบ้าง

     อาการเจ็บป่วยทางกายภาพบำบัดที่เราเห็นกันบ่อยๆในชีวิตประจำวันคือเจ็บปวดกล้ามเนื้อเส้นเอ็นซึ่งอาจจะเกิดจากการยกของผิดท่า นั่งทำงานนานเกินไป อุบัติเหตุประจำวันเช่นตกร่องฟุตบาท บาดเจ็บจากการเล่นกีฬา และอัมพาตอัมพฤกษ์ซึ่งมีลักษณะเดินคือกล้ามเนื้ออ่อนแรงซีกนึง ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้

     สำหรับผู้ป่วยอัมพาตอัมพฤกษ์ส่วนมากมีสาเหตุมาจากเส้นเลือดในสมองตีบหรือแตก (ซึ่งก็มีโรคทางระบบประสาทกล้ามเนื้ออื่นๆอีกหลายโรค) จุดเริ่มต้นในการรักษาตัวของผู้ป่วยอยู่ที่โรงพยาบาล ผู้ป่วยจะต้องพบแพทย์เพื่อตรวจและรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาลระยะหนึ่ง หนึ่งในการตรวจร่างกายที่เป็นมาตราฐานคือ CT scan สมองเพื่อดูตำแหน่งและขนาดในสมองที่เสียหาย ในขณะที่รักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาลหากแพทย์พบว่าสัญญาณชีพเสถียรดีแล้วก็จะส่งต่อให้นักกายภาพบำบัดดูแลด้วย หลังจากอาการปลอดภัยแล้วแพทย์ก็จะอนุญาตให้กลับบ้านได้แต่ยังต้องทำกายภาพบำบัดต่อเนื่อง การฟื้นฟูสภาพร่างกายผู้ป่วยสามารถเลือกได้ทั้งแผนกกายภาพบำบัดที่โรงพยาบาล คลินิกกายภาพบำบัด และจ้างนักกายภาพบำบัดไปที่บ้าน



           การเตรียมตัวของผู้ป่วยอัมพาตอัมพฤกษ์ในการไปหานักกายภาพบำบัด

     1. เตรียมประวัติการรักษาตัวตอนอยู่โรงพยาบาลโดยเฉพาะอย่างยิ่งผลการ CT scan สมอง เพราะเป็นข้อมูลสำคัญอันนึงที่เอาไว้ใช้ประกอบการวางแผนการรักษาและตั้งเป้าหมายในการรักษา

     2. เตรียมกระเป๋าอุปกรณ์เครื่องใช้ส่วนตัว เสื้อผ้าสำรอง ผ้าอ้อมผู้ใหญ่ แป้ง สบู่ โลชั่น เป็นต้น  

     3. เตรียมอุปกรณ์การเคลื่อนที่เช่นรถเข็น ไม้เท้า เข็มขัดหัดเดิน และผู้ดูแล

4. เตรียมกระเป๋าอุปกรณ์เสริมการแพทย์ (ถ้ามี)

     5. หาข้อมูลสถานที่ทำกายภาพบำบัดซึ่งสามารถเลือกได้ทั้งแผนกกายภาพบำบัดที่โรงพยาบาล คลินิกกายภาพบำบัด และจ้างนักกายภาพบำบัดไปที่บ้าน

     6. โทรนัดการทำกายภาพบำบัดเป็นทางเลือกที่ดีที่สุด ไม่แนะนำให้ walk in นะครับเพราะอาจไม่ได้รับการบริการทันที

     

        สำหรับผู้ป่วยเจ็บปวดกล้ามเนื้อเส้นเอ็น ส่วนมากจะยังสามารถช่วยเหลือตัวเองได้พอสมควรถึงแม้ว่าจะมีความไม่สะดวกอยู่บ้าง จึงมีความคล่องตัวมากกว่าผู้ป่วยอัมพาตอัมพฤกษ์ จุดเริ่มต้นในการรักษาตัวของผู้ป่วยประเภทนี้เกิดขึ้นได้ทั้งโรงพยาบาล คลินิกหมอ หรือคลินิกกายภาพบำบัด อย่างไรก็ตามหากมีอาการค่อนข้างซับซ้อนแล้วไปเริ่มต้นที่คลินิกที่ไม่มีอุปกรณ์ชั้นสูงแบบในโรงพยาบาลก็อาจจะต้องกลับไปตรวจเพิ่มเติมที่โรงพยาบาล กรณีที่เริ่มต้นรักษาตัวที่โรงพยาบาลอาจจะได้พักค้างคืนหรือไม่ก็ได้ ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรค ในขณะที่รักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาล นอกจากการรักษาทางยาแล้วแพทย์จะส่งนักกายภาพบำบัดไปช่วยดูแลอีกทางนึงด้วย หากอาการดีขึ้นพอสมควรแล้วก็จะอนุญาตให้กลับบ้านแล้วไปทำกายภาพบำบัดต่อซึ่งสามารถเลือกได้ทั้งแผนกกายภาพบำบัดที่โรงพยาบาล คลินิกกายภาพบำบัด และจ้างนักกายภาพบำบัดไปที่บ้าน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปัจจัยความซับซ้อนของโรครวมถึงอุปกรณ์ที่จำเป็นต้องใช้ในการทำกายภาพบำบัด



       การเตรียมตัวของผู้ป่วยเจ็บปวดกล้ามเนื้อเส้นเอ็นในการไปหานักกายภาพบำบัด

       1. เตรียมประวัติการรักษาตัวตอนอยู่โรงพยาบาลโดยเฉพาะอย่างยิ่งผลการ x – ray, MRI หรือ CT scan หรือผลจรวจทางรังสีต่างๆ  เพราะเป็นข้อมูลสำคัญอันนึงที่เอาไว้ใช้ประกอบการวางแผนการรักษาและรักษาได้ตรงกับตำแหน่งที่บาดเจ็บ แต่ถ้าหากไม่ได้เริ่มต้นรักษาตัวที่โรงพยาบาลหรือไม่มีก็ไม่เป็นไร

       2. หาข้อมูลสถานที่ทำกายภาพบำบัดซึ่งสามารถเลือกได้ทั้งแผนกกายภาพบำบัดที่โรงพยาบาล คลินิกกายภาพบำบัด และจ้างนักกายภาพบำบัดไปที่บ้าน

       3. โทรนัดการทำกายภาพบำบัดเป็นทางเลือกที่ดีที่สุด ไม่แนะนำให้ walk in นะครับเพราะอาจไม่ได้รับการบริการทันที

  4. เตรียมใจเย็นๆไว้คุยกับนักกายภาพบำบัด เพราะมีคำถามง่ายๆค่อนข้างเยอะหน่อย ดังเช่นในเรื่องวิธีใช้ประโยชน์จากการภาพบำบัด (https://rehabcompanion.blogspot.com/2022/03/blog-post_7.html)

       5. เตรียมกระเป๋าเสื้อผ้าชุดออกกำลังกายและรองเท้าผ้าใบ (optional) 

       

6. ผู้ที่มีอาการเจ็บปวดส่วนล่างของร่างกายซึ่งหมายถึงตั้งแต่สะโพกไปจนถึงนิ้วเท้าขอแนะนำให้นำกางเกงกีฬาขาสั้นไปด้วย ส่วนคุณผู้หญิงที่มีอาการเจ็บบริเวณไหล่ขอแนะนำให้นำ Sports bar หรือเสื้อกล้ามเปิดไหล่ไปด้วยและถ้ามีอาการปวดแผ่นหลังการใส่ sports bar จะทำการรักษาได้สะดวกครับ 

 

Sport bar มีพื้นที่เปิดไหล่และเเผ่นหลัง ส่วนกางเกงขาสั้นขากว้างมีพื้นที่เปิดส่วนล่าง

     

     วลีคำว่าเริ่มต้นดีมีชัยไปกว่าครึ่งก็สามารถใช้กับกรณีนี้เช่นกัน หากนักกายภาพบำบัดมีข้อมูลที่มากพอจากทั้งทางเอกสาร การซักประวัติ และตรวจร่างกายเพื่อนำไปวิเคราะห์และสังเคราะห์การวางแผนการรักษาได้ชัดเจนตั้งแต่ครั้งแรกที่พบกับผู้ป่วย ก็จะช่วยให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาฟื้นฟูที่ถูกต้อง ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่าย หวังว่าบทความนี้จะช่วยให้ผู้อ่านนำไปใช้ประโยชน์ได้บ้างนะครับ



 

 

 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Sports physiotherapy management for tennis elbow and other treatment options.

Ultrasound therapy in tennis elbow treatment (Ref: https://nesintherapy.com/) Tennis elbow is degeneration of the tendons that attach to t...