"ลักษณะคอยื่น (forward head posture), ไหล่งุ้ม (rounded shoulder), และหลังค่อม (thoracic kyphosis) สามารถเกิดขึ้นได้ร่วมกันหรืออาจจะไม่ร่วมกันเลยก็ได้"
Posture หรือลักษณะท่าทางคือตำแหน่งของร่างกาย มันเป็นสิ่งที่นักกายภาพบำบัดต้องใช้ในการตรวจร่างกายและการรักษาทางกายภาพบำบัดบางอย่างเป็นมาตราฐานขั้นตอนการปฏิบัติงาน ซึ่งตำแหน่งของร่างกายปกติ (ideal posture) ได้ถูกระบุลักษณะไว้และถ้าตำแหน่งของร่างกายไม่ได้อยู่ในตำแหน่งปกติจะถูกเรียกว่าลักษณะท่าทางที่ไม่ดีหรือ Poor posture
ภาพซ้าย: Poor posture และภาพขวา: ideal posture (ภาพจาก อัญชลี คงสมชม, วัชระ สุดาชม, 2018) |
เมื่อกล่าวถึง ideal posture ของร่างกายส่วนบนจะอยู่ในตำแหน่งตามเส้นตรงสมมุติที่ดิ่งตั้งฉากกับพื้นโลก ในเส้นตรงนั้นจะมีรูหูและจุดศูนย์กลางข้อไหล่อยู่ด้วยกันโดยที่กระดูกสันหลังโค้งเล็กน้อยบวกกับกระดูกสะบักไม่ได้หุบมาด้านหน้า ส่วนลักษณะท่าทางที่ไม่ดี (poor posture) ของหลังส่วนบนมักจะมีลักษณะเฉพาะประกอบไปด้วยหัวยื่นไปข้างหน้า (forward head posture) คอแอ่นเพิ่มขึ้น (increased cervical lordosis) หลังส่วนบนค่อม (thoracic kyphosis) ไหล่ยกและยื่นไปข้างหน้า (shoulder elevation & protraction) และกระดูกสะบักมีการหมุนหรือกางออกร่วมกับภาวะ wining of scapulae ซึ่งถูกเรียกว่า upper cross syndrome ลักษณะดังกล่าวทำให้มีกล้ามเนื้อที่หดสั้นและกล้ามเนื้อที่ถูกยืดยาวออกจนทำให้มีความแข็งแรงลดลง และทำให้เกิดความผิดปกติต่างๆได้เช่น โรคปวดกล้ามเนื้อและพังผืด (Myofascial pain) มีจุดกดเจ็บบริเวณกล้ามเนื้อที่หดสั้นและยังพบอาการปวดแผ่ร้าวไปยังบริเวณอื่นๆ ได้แก่ คอ ไหล่ รอบๆ ทรวงอก แขน มือร่วมด้วย ปวดคอ (Neck pain) ปวดไหล่ (Rotator Cuff Injury) การกดทับของเส้นประสาท (nerve compression) ปวดศีรษะแบบ Tension Headaches ปวดศีรษะแบบ Cervicogenic Headaches และความจุปอดลดลง (reduced lung capacity)
Deepika Singla ได้สรุปงานวิจัยของเขาออกมาว่าลักษณะคอยื่น (forward head posture), ไหล่งุ้ม (rounded shoulder), และหลังส่วนบนค่อม (thoracic kyphosis) สามารถเกิดขึ้นได้ร่วมกันหรืออาจจะไม่ร่วมกันเลยก็ได้ จากเป้าหมายการวิจัยของเขาคือการทบทวนงานวิจัยต่างๆเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างคอยื่น ไหล่งุ้ม และหลังส่วนบนค่อม วิธีที่เขาทำงานวิจัยคือการค้นหางานวิจัยที่เป็นภาษาอังกฤษฉบับเต็มตามแหล่งตีพิมพ์ online ต่างๆเช่น PubMed, ERIC, และ Cochrane databases ที่วิจัยความสัมพันธ์ระหว่างคอยื่น ไหล่งุ้ม และหลังส่วนบนค่อมที่เผยแพร่ในเดือนธันวาคมปี 2016 ทีมงานของเขาสามารถค้นหางานวิจัยออกมาได้ถึง 6,840 ชิ้น สุดท้ายเมื่ออ่านและวิเคราะห์แล้วนำมาใช้ได้ 19 ชิ้น
ภาพลักษณะ Upper cross syndrome (ภาพจาก อัญชลี คงสมชม, วัชระ สุดาชม, 2018) |
Chin tuck exercise (ภาพจาก https://musculoskeletalkey.com/structure-and-function-of-the-vertebral-column/) |
ภาพ Doorway pectoral stretching (ภาพจาก https://www.precisionmovement.coach/doorway-pec-stretch/) |
shoulder prone T - exercise (ภาพจาก http://seattlepediatricsportsmedicine.com) |
ปัจจัยสำคัญอันนึงที่เกิด poor posture คือความเคยชินในตำแหน่งร่างกายที่ผิดเพี้ยน โดยส่วนมากเราจะนึกภาพถึงกลุ่ม office syndrome หรือ text syndrome ผมมีความเห็นสอดคล้องกับ Deepika Singla ที่สรุปงานวิจัยของเขาออกมาว่าลักษณะคอยื่น (forward head posture), ไหล่งุ้ม (rounded shoulder), และหลังค่อม (thoracic kyphosis) สามารถเกิดขึ้นได้ร่วมกันหรืออาจจะไม่ร่วมกันเลยก็ได้ดังนั้นการรักษาทางกายภาพบำบัดกับผมจะมีการรักษาทั้งภาพรวมหรือภาพเฉพาะจุดก็ได้ และรวมถึงต้องเปลี่ยนลักษณะความเคยชินให้ได้ด้วย สุดท้ายนี้การมี poor posture เพียงอย่างเดียวไม่ถือว่าเป็น upper cross syndrome
ภาพการฝึกนั่งและฝึกยืนแบบ ideal posture ที่ต้องฝึกให้เคยชิน (ภาพจาก อัญชลี คงสมชม, วัชระ สุดาชม, 2018) |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น